“พม. พอใจ : ให้ทุกวัยพึงใจใน พม.”
สรุปสาระสำคัญการมอบนโยบายของ รมว.พม. นายวราวุธ ศิลปอาชา “พม. พอใจ ให้ทุกวัย พึงใจ ในพม”
วันนี้ 19 กันยายน 2566 รมว.พม. นายวราวุธ ศิลปอาชา มอบนโยบายแก่ผู้บริหารข้าราชการ จนท.พม. ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคผ่านระบบออนไลน์ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
3 หลักในการทำงาน
พม.ทำงานตามเบื้องพระยุคลบาท ร.9 รับใช้ประชาชนทุกช่วงวัย ใช้เงินภาษีทุกบาทให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ไม่ยอมรับการคอรัปชั่น/การทุจริตทุกรูปแบบ
ทำงานเชิงบริหาร เอื้ออำนวยให้เพื่อนข้าราชการทำงานให้ทัประสิทธิภาพ รมว.พม.พร้อมแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการทำงานของเพื่อนข้าราชการทุกเรื่อง
PSS : ทำให้แม่นยำ ทำให้เร็ว และ ทำได้จริง ภายใต้หลักคิดที่ท่านบรรหารเคยมอบแนวทางที่ว่า “ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้” และมาถึงรุ่นท่านมีแนวทางที่สำคัญคือ “ TOGETHER POSSIBLE “ ไม่มีอะไรที่ทำด้วยกันแล้วทำไม่ได้”
แนวทางเบื้องต้นที่ท่าน รมว.พม.ชี้ให้เห็นถึงทิศทางการทำที่ท่านให้ความสนใจ
เป้าหมาย ultimate goal ระดับนานาชาติ คือการบรรลุตาม SDGs ใน 8 ด้านที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ พม. “พม.ไม่แพ้ใครในเวทีประเทศ/เวทีโลก”
การนำผลสะท้อนของผลกระทบจาก climate change ในสองด้านที่ล้วนส่งผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมาย พม.คือครัวเรือนเปราะบาง คือ การลดความรุนแรงของปัญหา และการปรับตัวเพื่อให้เท่าทันและตั้งรับกับสถานการณ์ได้แม้มีงบน้อย มุ่ง “ทำน้อย ได้มาก”
การมุ่งขับเคลื่อนกฎหมายหลักอย่างน้อย 3 เรื่องให้เห็นผลเชิงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ
3.1 พรบ.คุ้มครองเด็ก มุ่งให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการคุ้มครองเด็ก
3.2 พรบ.ป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว
3.3 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการบริหารจัดการกองทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อคนพิการ ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
งานเด็กแรกเกิด :ยกระดับให้ครอบคลุมผู้มีสิทธิ 4 ล้านคน ให้เข้าถึงสิทธิ ไม่ตกหล่นครบถ้วน มีระบบคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาดในระบบให้เหลือร้อยที่สุด และมีความรวดเร็ว คล่องตัว ลดขั้นตอน ประขาชนได้รับบริการรวดเร็ว
ศูนย์อนุบาลเด็กปฐมวัย/เด็กเล็ก มุ่งส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กให้มีพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ และเป็นคนดีในสังคม เป็นทรัพยากรของชาติที่มีคุณภาพ ผู้เลี้ยงดู/บริบาลเด็กควรมีทักษะในการดึงเอาศักยภาพของเด็กออกมาโดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรก ที่สมองกำลังพัฒนา
ด้านเยาวชน: ครอบคลุมเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา การหาเครื่องมือใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหาที่เยาวชนเผขิญ ส่งเสริมกิจกรรมค่ายเยาวชนเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีทักษะชีวิต มีเป้าหมายการดำเนินชีวิตทค้นหาตัวตน รวมถึงเรื่องครอบครัวอุปถัมภ์ที่ครอบครัวที่อุปถัมภ์ พึงให้ความสำคัญกับการปลูกฝัง mindset ที่เหมาะควร ซึ่ง อ.กนก วงศตระหง่าน มีโครงการที่นำศิลปะบำบัดมาใช้ในกระบวนการเข้าถึงความคิดและใช้ประกอบการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กได้ ผ่านงานศิลปะของเด็ก เป็นต้น
วัยทำงาน: การสร้างงานสร้างอาชีพ โดยใช้ทุนที่ พม.มี เข่น การบริหารจัดการทรัพยากรของการเคหะ/สถานธนานุเคราะห์ หรือแม้แต่การบูรณาการกับภาคเอกชนในการนำอาคารที่ไม่ใข้งานมาเพิ่มมูลค่าและเป็นที่อยู่อาศัยราคาถูก “บ้านตั้งตัว” สำหรับคนรุ่นใหม่ให้สามารถมีที่อยู่อาศัยของตนเอง การบริหารจัดการนิคมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนสมาชิกนิคมพึ่งตนเองได้
รื้อฟื้น”โครงการสร้างคุณค่าของไทยในชุมชน” และ”โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ” ซึ่งในสมัยท่านนายกบรรหารฯ เคยกำหนดคุณลักษณะเยาวชนพึงประสงค์ไว้ 11 ประการ ซึ่งยังทันสมัยนับถึงปัจจุบัน มุ่งคืนลูกที่ดีให้คนอบครัว คืนครอบครัวที่เข้มแข็งให้สังคม
ส่งเสริมให้เยาวชนเป็นผู้ประกอบการและมีทักษะในการช่วยเหลือสังคม คืนคุณค่าให้สังคมประเทศชาติ มีความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน
เตรียมความพร้อมคนเข้าสังคมผู้สูงอายุ ทั้งด้านรายได้ อาชีพ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมเพื่อชะลอความเจ็บป่วยและลดภาระ/ยืดระยะเวลาที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่น ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีเงินใช้ และสุขภาพแข็งแรง เป็นพฤฒิพลัง
การดูแลและจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในฐานะที่ไทยเป็นสังคมสูงอายุ(Age Society) เข่น ระบบศูนย์บริบาลผู้สูงอายุในชุมชน ที่มุ่งให้คนในชุมชนดูแลกันเองเหมือนลูกหลาน โดยอาจต้องพัฒนาระบบบริหารกองทุนผู้สูงอายุให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
ด้านคนพิการ : การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนคนพิการให้เกิดประโยชน์ต่อคนพิการ ครอบครัว สังคม ประเทศ ยกระดับศูนย์เรียนรู้คนพิการให้มุ่งสร้างโอกาสมากกว่าให้ความสนใจ เพราะคนพิการต้องการโอกาสมากกว่าความเห็นใจ
การสื่อสาร ของ พม.: มุ่งแสดงถึงบทบาทของ พม. “จริงใจ ชัดเจน เข้าถึงทุกวัย” การเล่าผลงานสื่อสารสังคมให้รับรู้เป็นการ “ทำน้อย ไดมาก” การทำงานแล้วขาดการสื่อสารสังคมเท่ากับไม่ได้ทำอะไร
การดูและคน พม.ด้วยกันให้มีขวัญกำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นว่า พม.ไม่แพ้ใครทั้งระดับประเทศแบะเวทีโลก และให้เชื่อมัานว่า “หากเราทำงานด้วยกัน ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ : TOGETHER IMPOSSIBLE “
Post Views: 359