กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

วัตถุประสงค์
        กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งปรับปรุงแก้ไขตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนใช้จ่าย ในการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมาย
 
วิสัยทัศน์
       กองทุนหลักที่เป็นกลไกขับเคลื่อน การพัฒนาและการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล
 
พันธกิจ
       ๒.๑ ส่งเสริมสนับสนุนองค์การสวัสดิการสังคม และสร้างการมีส่วนร่วมในระบบสวัสดิการสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

       ๒.๒ สนับสนุนกระบวนการปฏิบัติงานกองทุน เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้เกิดความเข้มแข็ง และความอยู่ดี มีสุข อย่างยั่งยืน

เกณฑ์การพิจารณาในการประเมินโครงการ
       ๑. วัตถุประสงค์ขององค์กรที่เสนอคืออะไร โครงการที่เสนอขอสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร/หน่วยงานหรือไม่
       ๒. ความเชื่อมโยงระหว่างโครงการกับยุทธศาสตร์สังคมระดับต่างๆ เช่น ของกระทรวง, จังหวัด, ท้องถิ่น ผลสำเร็จของโครงการสามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์
       ๓. วัตถุประสงค์, กลุ่มเป้าหมาย, กิจกรรมและวิธีการดำเนินโครงการ, ผลผลิตสอดคล้องกันหรือไม่
       ๔. ความร่วมมือและบทบาทของภาคีเครือข่าย เช่น อปท. องค์กรของรัฐ หน่วยงานในพื้นที่ เป็นต้น
       ๕. ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น ในหน่วยงานเดียวกันและของหน่วยงานอื่นๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับโครงการอื่น และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
       ๖. มีตัวชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงความสัมฤทธิ์ของโครงการ ๒ ระดับ คือ ระดับผลผลิต และระดับผลลัพธ์
       ๗. ลักษณะโครงการแสดงให้เห็นถึงความยั่งยืน ความต่อเนื่องหรือมีกลไกที่ขยายผลต่อไปได้ แม้กองทุนจะไม่ได้สนับสนุนในปีต่อๆ ไป
       ๘. ศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการ แผนการบริหารจัดการมีความสมเหตุสมผลหรือไม่
       ๙. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งกลุ่มที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ หรือ กลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารบุคคลเหล่านี้
       ๑๐. งบประมาณของโครงการควรแยกหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย มีความสมเหตุสมผลและคุ้มประโยชน์
       ๑๑. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ควรระบุช่วงเวลาการทำงานในโครงการต้องชัดเจน วันเริ่มต้น, วันสิ้นสุด และระยะเวลาในแต่ละกิจกรรม
       ๑๒. มีรูปแบบ วิธีการประเมินผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial