วันคนพิการสากล “3 ธันวาคม”

วันคนพิการสากล ตรงกับวันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี (International day of persons with disability)

วันคนพิการสากล (3 ธันวาคม) เป็นวันสำคัญระหว่างประเทศที่สหประชาชาติส่งเสริมตั้งแต่ปี 2535 มีการเฉลิมฉลองโดยมีความสำเร็จระดับต่าง ๆ ทั่วโลก วันนี้จัดขึ้นโดยมุ่งส่งเสริมความเข้าใจปัญหาความพิการและการระดมการสนับสนุนสำหรับศักดิ์ศรี สิทธิและความเป็นอยู่ดีของผู้พิการ นอกจากนี้ ยังมุ่งเพิ่มความตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้จากการรวมผู้พิการเข้ากับทุกแง่มุมของชีวิตการเมือง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่ละปีจะเน้นปัญหาต่างกัน

 

นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ปี พุทธศักราช 2526 – 2535 เป็นทศวรรษคนพิการแห่งสหประชาชาติ หรือ UNITED NATION DECADE OF DISABLED PERSONS,1983-1992. ยังผลให้ประเทศต่างๆ รวมไปถึงองค์การต่างๆในทุกภูมิภาคทั่วโลก ได้ตื่นตัวในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถถาพคนพิการอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศองค์การสมาชิกอย่างเป็นรูปธรรม การเสนอแนะประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ให้ใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุง การป้องกันความพิการ การสนองความต้องการของคนพิการ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ในทุกรูปแบบต่อประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนรณรงค์เรื่องสิทธิ และความเท่าเทียมกันในสังคนเพื่อคนพิการ รวมไปถึงมรการจัดกิจกรรมคนพิการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ทักษะการช่วยตัวเอง การเพิ่มพุนสมรรถภาพทางกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของคนพิการ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน ระหว่างคนพิการและคนปกติ

 

ในปีพุทธศักราช 2535 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค หรือ ESCAP ได้จัดให้มีสมัยการประชุมครั้งที่ 48 ขึ้น  ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ประชุมได้มีมติประกาศให้ปีพุทธศักราช 2536 – 2545 เป็นทศวรรษคนพิการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค หรือรู้จักกันในนามสากลทั่วโลกว่า “Asian and Pacific Decade of Disabled Persons, 1993 – 2002” โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาคนพิการในทุกๆ ด้าน ทั่วทุกประเทศในแถบเอเชียและแปซิฟิค ทั้งในด้านการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ส่งเสริมการฝึกอบรมอาชีพและจัดหาสถานประกอบการรองรับแรงงานคนพิการ สนับสนุนด้านการศึกษา ตลอดจนผลักดันให้คนพิการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่ ซึ่งก็จะช่วยให้คนพิการมีโอกาสและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไปในสังคม


Share:



วันยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว “3 พฤศจิกายน”

วันยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี

 วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี องค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็น “วันยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว” ประเทศไทย โดยมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โดยจะมีการรณรงค์ให้สังคมได้ตระหนักและร่วมกันป้องกันปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดต่อเด็ก และสตรี ในครอบครัว รวมไปถึงความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ เช่น ความรุนแรงในโรงเรียน โดนกลั่นแกล้งในโรงเรียน


Share:



วันเยาวชนแห่งชาติ “20 กันยายน”

วันเยาวชนแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน ของทุกปี

วันเยาวชนแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญ ได้มีการเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยได้องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล โดยมีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นในที่ 20 กันยายน เช่นกัน วันนี้ เราจึงจะนำเสนอข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับวันเยาวชนแห่งชาติ

 

วันเยาวชนติแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน ของทุกปี โดยคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้เป็นวันที่ 20 กันยายน เพราะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468) ซึ่งพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์นี้ ได้ขึ้นครองราชสมบัติในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นพระเยาว์อยู่นั้นเอง

 

นอกจากนี้หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาและ ส่งเสริมให้เยาวชนของชาติมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชาติให้มีความมั่นคงและ เจริญรุ่งเรืองขึ้น อีกทังยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมความเป็นไทยแบบเดิมไว้ ให้รู้จักอดออม ประหยัดรวมทั้งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและ ประเทศชาติ ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รวมไปถึงยังส่งเสริมให้เยาวชนของชาติมีการพัฒนาสถาบันในต่างๆ เช่น สถาบันครอบครัว โดยให้ผู้ปกครองให้ความเข้าใจ เอาใจใส่ ให้ความรัก ปกครองอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อเยาวชนในการพัฒนาทั้งคุณธรรมและ จริยธรรม ซึ่งจะนำพาประเทศชาติให้รุ่งเรืองต่อไป


Share:



วันสตรีไทย “1 สิงหาคม”

วันสตรีไทย ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี

ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันมหามงคล 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ตรากตรำบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อให้คนไทยได้มีอาชีพ และได้พระราชทานให้วันที่ 1 สิงหาคมเป็น “วันสตรีไทย” ของทุกปี เพื่อให้ผู้หญิงไทยมีโอกาสแสดงถึงความรู้ความสามารถในการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันสังคม และให้สามารถเทียบเท่าสตรีสากลของหลายประเทศ

 

วันสตรีไทยถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพราะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยออกมาทำ กิจกรรมร่วมกัน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสตรีมีบทบาทมากขึ้น มีความสามารถทัดเทียมผู้ชาย เป็นที่ยอมรับจากสังคม จะเห็นได้จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนเริ่มมีสตรีเข้าไปเป็น หัวหน้างานมากขึ้น รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในการบริหารประเทศชาติ สตรีไทยในยุคปัจจุบันจึงต้องเป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถครบถ้วนทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหาร การจัดการ การเป็นแม่ที่ดีของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี พร้อมทั้งต้องก้าวทันกับยุคสมัยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม


Share:



วันต่อต้านการค้ามนุษย์ “5 มิถุนายน”

วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี

ตั้งแต่ปี 2558 รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็น ‘วันต่อต้านการค้ามนุษย์’ เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการค้ามนุษย์ ว่าเป็นอาชญากรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง


Share:



Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ “มิถุนายน”

Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ "มิถุนายน"

Pride Month เทศกาลไพรด์ ของ LGBTQ+ การขับเคลื่อนให้มีการยอมรับ กลุ่ม LGBTQ+ นั้น มีมาทุกยุคทุกสมัย ในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป และเทศกาลที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ ก็คือหนึ่งในการแสดงออกถึงความต้องการสิทธิความเท่าเทียมกันในสังคม 

 

ในเดือนมิถุนายนของทุกปีในหลายประเทศจะมีการจัดงานของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่เราเรียกกันว่า เป็นเดือนแห่ง เทศกาลไพรด์ หรือ Pride Month โดยมีกจะมีการเดินพาเหรดที่เรียกว่า LGBTQ Parades หรือ ไพรด์พาเหรด (Pride Parade) เป็นเทศกาลที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก จัดเต็ม โบกธงสีรุ้งให้สะบัด เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเสมอภาคของชาว LQBTQ+ ทั่วโลก

 

LGBTQ+ คือ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยใช้อักษรย่อดังนี้L : Lesbian เลสเบี้ยน คือ ผู้หญิงที่รักผู้หญิง
G : Gay เกย์ คือ ผู้ชายที่รักผู้ชาย
B : Bisexual ไบเซ็กชวล คือ ความรักของชายหรือหญิง กับเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามก็ได้
T : Transgender ทรานส์เจนเดอร์ คือคนที่เปลี่ยนเพศของตัวเอง ไปเป็นเพศตรงข้าม
Q : Queer เควียร์ คือ คนที่ไม่จำกัดเพศใดๆ โดยไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ
Plus (+) คือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ ที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกเหนือจาก LGBTQ

 

ความหมายของ ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ในงานไพรด์ 
สีแดง : การต่อสู้ หรือ ชีวิต
สีส้ม : การเยียวยา
สีเหลือง : พระอาทิตย์
สีเขียว : ธรรมชาติ
สีฟ้า สีคราม : ศิลปะ ความผสานกลมกลืน
สีม่วง : จิตวิญญาณของ LGBTQ


Share:



วันครอบครัว “14 เมษายน”

วันครอบครัว ตรงกับวันที่ 14 เมษายนของทุกปี

วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันครอบครัว” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความรัก ความอบอุ่น และความสุขในครอบครัวมากที่สุด เพราะสถาบันครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตของผู้คน ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขก็ถือว่าเป็นความเข้มแข็งของชุมชน หมู่บ้าน สังคมด้วยเช่นกัน

 

สืบเนื่องจากคนไทยสมัยก่อนจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ประกอบด้วย พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติ รวมกันอยู่ในบริเวณบ้านเดียวกัน ความใหญ่เล็กของบ้านขึ้นอยู่กับจำนวนคน และต่อเติมขนาดของบ้านเรื่อยไปตามจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น ถึงเทศกาลก็ทำข้าวของอาหารไปทำบุญที่วัดใกล้บ้าน ญาติพี่น้องจะเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือกัน ข้าวของอาหารที่เหลือก็จะแบ่งปันแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ด้วยวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูกและครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคม

 

ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันครอบครัว” ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดยสะดวก จึงให้ถือโอกาสเดียวกันนี้เป็นวันแห่งการรวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ตลอดจนการขอพรผู้ใหญ่ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติกันมา


Share:



วันผู้สูงอายุแห่งชาติ “13 เมษายน”

วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ตรงกับวันขึ้นปีใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ (วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี)

“วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เป็นวันที่ถูกผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือก็คือวันสงกรานต์ ซึ่งหน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วนก็ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นทุกปี หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปีให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อร่วมรณรงค์ให้ประชาชนทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ เห็นถึงคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญกับผู้สูงอายุ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆตามศักยภาพของตนเองอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี ส่งเสริมการเรียนรู้และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สูงอายุ


ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ซึ่งจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือผู้สูงอายุตอนต้น คือบุคคลที่มีอายุ ๖๐ – ๖๙ ปีทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือบุคคลที่มีอายุ ๗๐ ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง โดยใช้ “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เนื่องจากต้นลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีและมีดอกสีนวล กลิ่นหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่ายเหมือนกับผู้ทรงชัยวุฒิที่คงคุณธรรมความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานตลอดไป

 

สังคมไทยในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุมากขึ้นและมีอายุยืนยาวมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใส่ใจในการดูแลรักษาสุขภาพ เพื่อสร้างค่านิยมของสังคมไทยที่สำคัญต่อการเคารพผู้สูงวัย ร่วมปฏิบัติต่อท่านด้วยความรักความเอื้ออาทรทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางสังคมพร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและครอบครัวห่วงใยใส่ใจในสุขภาพของทั้งตนเองและคนรอบข้าง

 

โดยทั่วไปแล้วในวันผู้สูงอายุแห่งชาติจะมีการจัดกิจกรรมรดน้ำขอพร มอบของขวัญและขอพรจากผู้สูงอายุตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆจะมีการให้สิทธิพิเศษในการใช้บริการต่างๆ เช่น ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT ได้ให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษด้วยการให้ผู้โดยสารที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินได้ฟรี ๑๘ สถานี ตั้งแต่เวลา ๖.๐๐ – ๒๔.๐๐ น. ส่วนทางรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงค์ก็เช่นกัน สำหรับผู้โดยสารที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีชึ้นไป สามารถโดยสารรถไฟฟรีด้วยเช่นกัน เพียงแค่แสดงบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ก่อนใช้บริการเท่านั้น

 

สำหรับสังคมไทยเราซึ่งยังคงเป็นสังคมที่มีลักษณะการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ด้วยเพราะความเร่งรีบในการแข่งขันกันในด้านต่างๆ ทั้งเรื่องงาน การเป็นอยู่ การศึกษา ทำให้สังคมเมืองหรือสังคมใหญ่ๆในชนบทที่เคยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่แตกกระจายออกไปใช้ชีวิตอยู่กันแบบครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น คืออยู่กันเฉพาะพ่อ แม่ และ ลูกเท่านั้น ส่วนผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ในวัยหลังเกษียนหรือ ปู่ ย่า ตา ยายก็จะถูกทิ้งให้อยู่กันตามลำพัง บุคคลเหล่านี้เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวัยท้ายของชีวิต เป็นช่วงที่ควรได้รับการช่วยเหลือประคับประคองจากสังคมจากคนใกล้ชิดหรือจากลูกหลาน ซึ่งสังคมไทยเรานั้นมีวัฒนธรรมในการดูแลพ่อ แม่ ญาติ หรือผู้สูงอายุอยู่ก็จริง แต่ก็ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปย่อมมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

เนื่องในโอกาสวันผู้สูงอายุซึ่งตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมจึงขอเชิญชวนบุตรหลานได้ใช้ช่วงเวลาพิเศษในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีวันหยุดยาวได้กลับไปเยี่ยมพ่อ แม่ ญาติผู้สูงอายุซึ่งรอท่านอยู่ที่บ้าน กลับไปกอดท่านบอกรักท่านด้วยความกตัญญู ร่วมกันทำบุญตักบาตร รดน้ำขอพรเพื่อให้ความรักและความกตัญญูนี้เป็นเสมือนยาอายุวัฒนะที่เติมเต็มพลังให้เราต่อสู้กับปัญหาต่างๆที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตและผ่านพ้นมันไปได้ด้วยรอยยิ้มและกำลังใจอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว


Share:



วันสตรีสากล “8 มีนาคม”

วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี

ประวัติวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

 

จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

 

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ “คลาร่า เซทคิน” (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วย

 

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ “คลาร่า เซทคิน” และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

 

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

 

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่า


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial