ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดขอนแก่น
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2550 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 มาตรา 20/3 และมาตรา 20/4 กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ราชการส่วนท้องถิ่นอาจจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการได้โดยใช้งบประมาณของตนเอง โดยให้ศูนย์บริการคนพิการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้คือ
1) สำรวจติดตามสภาพปัญหาคนพิการ และจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการในพื้นที่รับผิดชอบ
2) ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์คนพิการ
3) เรียกร้องแทนคนพิการ
4) ให้ความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน
5) ให้ความช่วยเหลือคนพิการให้ได้รับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตามความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล
6) ประสาน คัดกรอง ส่งต่อและให้ความช่วยเหลือคนพิการหรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะพิการให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่เหมาะสม
7) ประสานความช่วยเหลือกับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเพื่อให้ความช่วยเหลือคนพิการตามประเภทความพิการ
8) ติดตามและประเมินผล และรายงานเกี่ยวกับการได้รับสิทธิประโยชน์ และการดำรงชีวิตของคนพิการ
9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดตามพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะกรรมการ หรือสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกำหนด
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ได้ออกระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับศูนย์บริการคนพิการ พ.ศ. 2556 และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 182 ง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2556 หน้า 42 – 47 เรียบร้อยแล้ว โดยระเบียบฯ ได้กำหนดประเภทศูนย์บริการ คนพิการไว้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1) ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ได้แก่ ศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้งโดยองค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานตามมาตรา 6 (10) ราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บริการแก่คนพิการในระดับพื้นที่ หรือตามประเภทความพิการ หรือให้บริการ แก่คนพิการเป็นเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2) ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด ได้แก่ ศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้งโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับ การจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และดำเนินการอื่นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการภายในจังหวัด
นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำระบบการจัดบริการศูนย์บริการคนพิการ โดยมีรองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการจัดบริการคนพิการ เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ เป็นกรรมการและเลขานุการคณะทำงานฯ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวางแผน กำหนดรูปแบบ แนวทาง วิธีการจัดตั้งและการดำเนินงานของศูนย์บริการคนพิการประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการ
แนวคิดการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ
- คนพิการในพื้นที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและ บริการอย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว
- องค์กรคนพิการเข้มแข็ง และมมาตรฐาน จัดบริการให้แก่คนพิการ
- ท้องถิ่น/ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลคนพิการ
ประเภทของศูนย์บริการคนพิการ
- คนพิการในพื้นที่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและ บริการอย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว
- องค์กรคนพิการเข้มแข็ง และมีมาตรฐาน จัดบริการให้แก่คนพิการ
- ท้องถิ่น/ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลคนพิการ
ประเภทของศูนย์บริการคนพิการ
- ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับศูนย์บริการคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้กำหนดประเภทและอำนาจหน้าที่ของศูนย์บริการคนพิการไว้ 2 ประเภท ดังนี้
- 1. ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป
- 2. ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด
สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ
- คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ พ.ศ. 2550 มีสิทธิได้รับบริการต่างๆ ดังนี้
- การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านสังคมในสถาบัน ปัจจุบันมีสถานสงเคราะห์ฯ จำนวน 11 แห่ง ในจังหวัดเลย ราชบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี และอุบลราชธานี
- การจัดบริการในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน ให้บริการด้านสุขภาพ รณรงค์ป้องกันความพิการ การฟื้นฟูอาชีพ และการฟื้นฟูทางสังคม โดยหน่วยงานให้บริการคนพิการในพื้นที่ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน ในปีต่อไปโอนให้องค์กรปกครองรับไปดำเนินการ ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ
- การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพคนพิการ ดำเนินการทั้ง
3.1 ในสถาบัน ซึ่งมีศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ 8 แห่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ ขอนแก่น เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ลพบุรี หนองคาย และอุบลราชธานี มี 15 สาขาอาชีพ มีหลักสูตรระยะ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 10 เดือน 1 ปี และหลักสูตรระยะสั้น 30 ชั่วโมง
3.2 ในชุมชนจัดวิทยากรให้ตามคำร้องขอของชุมชนและเปิดฝึกอบรมในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน
3.3 ศูนย์พัฒนาอีพคนพิการ (โรงงานในอารักษ์) จังหวัดเลย รับคนพิการที่มีความรู้และมีความประสงค์ในการประกอบอาชีพ มีรายได้ ให้บริการที่พักและอื่นๆฟรี สำหรับรายได้ของคนได้ตามความสามารถของคนพิการแต่ละคน - การให้การสงเคราะห์ครอบครัว
- การให้การสงเคราะห์กายอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการ
- การจัดหางานให้ทำหรือส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระ
- ให้บริการเด็กออทิสติก 2 หน่วย คือ
7.1 ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จังหวัดขอนแก่น
7.2 ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จังหวัดเลย
ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดขอนแก่น : ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ชั้น 1 (ตึกเก่า) ถนนศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง อำเภเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000